ความหมายของละคร
คำว่า “ละคร”
นั้นในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ละคร”
ไว้ว่า “การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร
มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง
โดยมากมีดนตรีประกอบมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด;
การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์,
โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลก คือ ละครโรงใหญ่”
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554:1043)
“ละคร” หมายถึง
การแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากกรีก อียิบป์ จีน
มนุษย์ทุกเชื้อชาติย่อมมีการแสดงละคร ความหมายโดยทั่วๆ ไปหมายถึงว่า สิ่งใดๆ
ก็ตามจะปรากฏเรื่องราวที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
ความบันเทองใจแก่มนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้แสดงธรรมชาติของตนออกมาให้ปรากฏเป็นการกระทำ
หรือสิ่งใดทำไปแล้วและมีการแสดงซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หมายความว่า “ละคร” ได้เริ่มแล้ว
ความหมายนั้นๆ หมายถึงสิ่งที่กระทำ หรือแสดงสำหรับละครไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลคำว่า
“ละคร” ไว้ว่า การมหรสพย่างหนึ่งซึ่งมักจะเล่นเป็นเรื่องราวต่างๆ หมายความว่า
“ละคร” จะต้องเป็นเรื่องจึงจะเป็นละคร แม้จะใช้ท่ารำก็ต้องเป็นเรื่อง
ซึ่งต่างจากคำว่า “ระบำ” พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานแปลว่า “การฟ้อนรำเป็นชุดกัน”
(สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ 2537:5)
ละคร (Drama) หมายถึง
“การมหรสพหรือการแสดงที่มีเนื้อเรื่องเป็นสำคัญกล่าวคือ แสดงเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ”
การละครเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่เสนอต่อผู้ชมในรูปของการกระทำ (Action หรือ Acting)
ซึ่งประกอบไปด้วย การร้องรำ ทำเพลง หรือแสดงกิริยาอาการต่างๆ การละครแต่โบราณนั้น
สืบเนื่องมาจากการระบำรำเต้น หรือร้องรำทำเพลงต่างๆ ตัวอย่างเช่น
เมื่อเอ่ยถึงละครไทยที่เป็นแบบแผนมาแต่โบราณนั้นย่อมหมายถึงลักษณะ “ละครรำ”
คือละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรำในการดำเนินเรื่อง
ด้วยเหตุนี้เราจึงควรทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า “ระบำรำเต้น” เสียก่อน
(ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล :1)
ละคร
คือการแสดงเลียนแบบชีวิต โดยมีการร้องรำทำเพลงประกอบ สามารถแยกออกได้เป็น 2
ความหมาย คือ 1.ความหมายกว้าง หมายถึงการละเล่นที่แสดงกิริยาท่าทาง จะเป็นการเต้น
การรำ หรือระบำต่างๆ ก็เรียกว่า ละคร 2.ความหมายเฉพาะหลักวิชา หมายถึง
การแสดงที่ต้องมีเนื้อเรื่องเป็นหลักสำคัญ ได้แก่ โขน ละคร ลิเก เป็นต้น คำว่า
“ละคร” เมื่อกับคำว่า “การ” จะมีความหมายกว้างออกไปอีกมาก แต่เมื่อนำคำว่า “ไทย”
มาต่อท้ายเป็น “การละครไทย” จะมีความหมายว่า การฟ้อนหรือการแสดงอย่างไทยที่ประกอบด้วยเรื่องราว
(ฐิติรัตน์ เกิดหาญ 2558:173)
คำว่า ละคร
มีสิ่งที่ควรศึกษาอยู่สองประเภท คือ โดยรูปศัพท์อย่างหนึ่ง
และโดยความหมายอย่างหนึ่ง
1.โดยรูปศัพท์
คำว่าละครที่เกี่ยวกับเสียงที่ออกในการอ่าน
เขียนได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1ลคร
1.2ละคอน
1.3ละคร
2.โดยความหมาย
ละครคือการแสดงเลียนชีวิต
อาศัยการร้อง ออกท่าทาง และมีเพลงประกอบ แยกได้ 2 อย่าง คือ
2.1ความหมายในแนวกว้าง
หมายถึงการละเล่นที่แสดงกิริยาท่าทาง ซึ่งจะเป็นรำหรือเต้นก็เรียกว่า ละคร นั่นคือ
ประเภทรำและประเภทร้องหรือทั้งรำและร้องในชุดเดียวกัน
2.2ความหายเฉพาะหลักวิชา
หมายถึงการแสดงที่ต้องมีเนื้อเรื่องเป็นสำคัญ ได้แก่ ละคร ลิเก เสภา โนรา
หนังตะลุง หุ่นกระบอก เป็นต้น
1.อธิบายความหมายละครในแง่รูปศัพท์
1.1 ลคร คำนี้ในปัจจุบันไม่ใช้แล้ว แต่อาจจะมีบางตำราที่ยังใช้อยู่
ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นตำรารุ่นเก่า ที่มีค่าในเชิงพรรณนาด้านวิชาการละคร หนังสือ
“ไวพจน์ประพันธ์” ของท่านพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
บรรยายไว้เกี่ยวกับคำว่า “ละคร” ดังต่อไปนี้
ซึ่งว่ารำละคร นักเลงฟ้อนรู้เต้นรำ
โอดครวญหวนลำนำ ระรี่เรื่อยเจื้อยจับใจ
เขาเล่าว่าเดิมที ยังไม่มีละครไทย
ชาตรีซึ่งมีใน เมืองนครก่อนเป็นครู
ฝึกครอบมอบสอนให้ ละครไทยได้เฟื่องฟู
เลื่องลือระบือดู เต้นรำเรื่องเมืองนคร
ครั้นนานกาลก็กลาย ตัวนะหายคลายเคลื่อนถอน
เรียกว่าดูละคร สะกด
“ร” พอเป็นพยาน
1.2 ละคร ตามข้อความในลายพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โต้ตอบด้านความรู้เกี่ยวกับเรื่องละครกับท่านเจ้าคุณพระยาอนุมานราชธน
ซึ่งบันทึกกราบทูล ฉบับลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2480 ว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อว่า
“ละคร” ที่ถูกมาจาก “ละคอน” หาใช่มาจาก “นคร” เพราะละคอนมีใช้อยู่ในภาษาชวาแล้ว
ในหนังสือต่างประเทศเล่มหนึ่ง เขียนชื่อเรื่อง ละครในชวาให้ที่มาของคำว่า ละคร
ในภาษาชวามาจาก Laku (ในเรื่อง) ธาตุ (ทางภาษาศาสตร์) แปลว่า to go, toact. แต่ไม่ได้อธิบายว่า
ประกอบ Laku ธาตุนั้นเป็นละครได้อย่างไร ที่ข้าพระพุทธเจ้าเขียนว่า ละคร
เพราะว่าเขียนกันมาอย่างนี้นานแล้ว”
และบันทึกกราบทูลลงวันที่
14 ธันวาคม 2485 ให้เหตุผลในลักษณะแสดงความคิดเห็นในเชิงปฏิเสธว่า
“...คิดด้วยเกล้าฯ ว่า เขียนละคร ว่ามาจากนคร จะเป็นสำคัญผิด (อาจจะ)
เพราะด้วยเรื่องเสียงมาพ้องกับ ละคร ทางปักษ์ใต้มีแต่โนราฯ ...
เลียงไปใกล้กับคำว่า “นคร” เลยเหมาะรวมกันเป็นคำเดียวไป อนึ่ง ได้ทราบเกล้าว่า
เขมรเรียก “โขน” ว่า ลโขน ชวนให้คิดไปว่าโขนกับละคร จะเป็นคำเดียวกัน...”
ข้อความเหล่านี้ยังไม่ยุติ
เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ท่านได้มีลายพระหัตถ์ตอบมาว่า
“ละคอนมาแต่ ลกุ นั้นดี (ท่านฯ เห็นด้วย) แต่ก็หมายถึงคนรำ หรือผู้แสดง (ละคร)
ไม่ใช่หมายถึงเรื่อง (ที่นำมาแสดง) ฉันได้อ่านหนังสือฝรั่งแต่ก็ไม่พบเลย...
ที่เขมรเรียก โขนว่า ลโขน นั้นฉันก็พบ แต่ศาสตราจารย์เซเดส์ บอกว่า
เขาอ่านลคอนนั้นเอง หนังสือเขมรนั้นฉันอ่านได้ แต่คำพูของเขานั้นฉันยังไม่เข้าใจเลย...
”
“ คำว่า นคร
เป็นลคอนไปนั้น หลงเลอะแน่ แม้เมืองอื่นจะเป็นลครด้วยก็คงหลงเลอะไปตามกันเท่านั้น”
จากหนังสือ โขน
ของ ธนิต อยู่โพธิ์ เขียนขึ้นใหม่ขณะมีตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร พ.ศ.2507 หน้า 13
อธิบายรูปศัพท์ของคำว่า ละคร ไว้ว่า
“
ใครจะพูดถึงอักขรวิธีในการเขียนคำว่า “ละคอน” เพิ่มเติมไว้ในที่นี้ด้วย
ตามการศึกษาค้นคว้าปรากฏแก่ข้าพเจ้า เห็นควรเขียนเป็น ละคร ”
เรื่องนี้ยังไม่ยุติแต่ก็คงมีเหตุช่วยสนับสนุนการเขียนคำว่าละคร
คือ หัวห้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้คัดลอกสำเนาหนังสือ 2 ฉบับ
เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยำรงราชานุภาพ ในตำแหน่งนายกกรรมการวรรณคดีสโมสร
เนื้อหาเกี่ยวกับส่วนที่ส่งมาให้ทรงอธิบายการเขียนคำว่า “ละคร” กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผ่านทางราชเลขานุการในพระองค์เมื่อ 1 มิถุนายน 2467 ความว่า “
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถามถึงศัพท์ละครว่า กรรมการวรรณคดีสโมสรจะให้ใช้ “ละคอน”
หรือ “ละคร” นั้น (เป็นพระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ที่สุดไม่ได้) คำว่าละครหามูลที่มาไม่ได้เป็นแต่ใช้กันมา
เคยพบมูลเหตุแห่งศัพท์นี้เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสชวา
ครั้งหลังมีละครชวาอย่างหนึ่งเขาเล่นถวายทอดพระเนตรเรียกว่า “ละงันตริโย”
สมเด็จพระพุทะเจ้าหลวง ทรงพระราชปรารภขึ้นว่า ศัพท์ “ละคร” ของเราจะมาแต่มูล
ชื่อประเภทละครนั้นเอง เรามาหลงใช้ตัวสะกดตัว ร. ที่จริงควรจะสะกดตัว น.
ตามที่กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุอันหนึ่ง ต่อมาเมื่อเร็วๆ
พบหนังสือภาษาเขมรเขียนบอกรูปภาพละครหลวงกรุงพม่าว่า “ละโขนพระกรุณา” ดังนี้
ข้าพเจ้าปรึกษากับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตวงศ์เห็นว่าควรใช้ตัว น. สะกด
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎดกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบดังนี้
จึงโปรดให้ราชเลขานุการในพระองค์ทูลตอบลายพระหัตถ์สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชนานุภาพ
ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2467 ว่า “มีพระกระแสโปรดเกล้าฯ ว่า ศัพท์ “ละคร”
เมื่อมีมูลมาเช่นนั้น จะได้ทรงใช้ตามความหวังพระราชหฤทัยว่า
ฝ่าพระบาทจะได้ทรงลองใช้ให้แพร่หลาย
และตัดความฉงนของคนผู้เป็นนักประพันธ์และนักเลงอ่านหนังสือ”
1.3 ละคร จากเหตุผลและข้ออ้างอิงกันมามากหลายขั้นตอนนั้นยังคงสรุปไม่ได้จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ทำหนังสือไปยังกรรมการปทานุกรม
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2514 ว่า “...คำว่า “ละคร”
ในพจนานุกรมของพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานนั้น อาจมีทางให้เขียนเป็นอย่างอื่นได้
“คณะกรรมการปทานุกรมพิจาณาแล้วยืนยันว่า” คำว่า “ละคร” คำนี้ ได้เขียนกันมานาน
ความผิดถูกเกี่ยวกับการเขียนหนังสือขึ้นอยู่ที่ผู้ใช้ ถ้ามีผู้ใช้มากพอสมควรก็ถือว่าอย่างนั้นเป็นคำถูก
ไม่ใช่ว่านักปราชญ์แสดงความคิดเห็นอย่างไร เราก็จะต้องแก้ตัวสะกดตาม” “...ด้วยเหตุผลดังกล่าวคระกรรมการจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงเขียน
“ละคร” ตามี่เคยเขียนมาจนยุติแล้ว”
สรุปได้ว่า
คำว่าละครนั้นโดยสื่อความหมายทางเสียง อาจจะเป็นที่สงสัยว่ามาจากรากศัพท์และชื่อต่างๆ
ซึ่งเขียนได้หลายแบบดังกล่าวมาแล้ว แต่สรุปว่าให้เขียนตามความนิยม คือ “ละคร”
เป็นชื่อสรุปประการสุดท้าย
2.โดยความหมายจากหลักวิชาในพจนานุกรม
อธิบายดังนี้
ละครหรือละคร
ถ้าเป็นคำนามหมายถึงการมหรสพจำพวกหนังเล่นเป็นเรื่องเป็นราว (Stage
Performance หรือ Play หรือ Drama) มีรายละเอียดต่อไปนี้
ละครชาตรี น. ละครที่เล่นอย่างแบบปักษ์ใต้
(Dance Drama)
ละครนอก น. ละครที่ผู้แสดงเป็นชายล้วน
ละครใน น. ละครที่ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน
ละครพูด น. ละครที่พูดเจรจาในเวลาแสดงอย่างสามัญชน มีการร้องเพลงสลับบ้า
(Legitimate
Drama)
ละครร้อง น. ละครที่แสดงคล้ายละครพูด
แต่บทเจรจาร้องเป็นทำนองต่างๆ
มีลูกคู่ร้องเพลงรับหรือประกอบอยู่กับหลังฉาก
(Musical Comedy)
ฉะนั้น
ละครก็คือ การแสดงที่เป็นเรื่องเป็นราว
และมีจุดมุ่งหมายคือความรู้สึกด้านอารมณ์สะเทือนใจ (Sentimental)
เป็นหลักทางสากล
ส่วนการละครของไทยคงมีมาตั้งแต่สมัยโบราณสืบเนื่องจากความเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
โดยประดิษฐ์คำสอนขึ้นมาเล่าเป็นนิทาน ซึ่งในชั้นแรกก็เพื่อหวังให้รู้ถึงบาป บุญ
คุณ โทษ ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ต่อมาก็คงมีการเพิ่มเติมรายละเอียดปลีกย่อยกันออกไปตามเนื้อหาในท้องเรื่อง
แต่ก็คงหนีหลักการใหญ่ๆ ในเรื่องบาป บุญ คุณ โทษไปไม่ได้
การละครเป็นเรื่องของการสะท้อนชีวิตของคนเรา
ซึ่งมีทั้งทุกข์และสุข หลักการของการละครในแนวสากล จึงได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
คือ สุขนาฏกรรม (Comedy) และโศกนาฏกรรม (Tragedy)
ซึ่งก็อาศัยหลักการของสภาพความเป็นจริงของมนุษย์นั่นเอง
นอกจากนั้นก็มีการแสดงแบบที่เรียกว่า Melodrama หมายถึงละครที่กินใจในลักษณะรุนแรง
อย่างไรก็ดีการจบของละครแบบไม่สมหวังเป็นจุดสำคัญซึ่งมาในรูปแบบโศกนาฏกรรม
ซึ่งบางสมัยนิยมกันมาก
ส่วนการละครของไทยในสมัยโบราณนั้น
ยังไม่ได้จัดระบบระเบียบแบบแผนให้เรียบร้อย
เราจึงสามารถแยกประเภทของการละครแต่ละชนิดของเนื้อเรื่องให้ออกจากกันได้
ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
จึงได้มีการจัดแบบแผนให้มีระบบระเบียบขึ้น
มีการตั้งชื่อละครที่แสดงกันโดยแยกสิ่งที่เหมือนกันเข้าไว้ด้วยกัน
และสิ่งที่แตกต่างกันออกเป็นประเภท เราก็สามารถได้ระบบระเบียบกฎเกณฑ์ของการแสดงแต่ละประเภท
เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อไป (วิมลศรี อุปรมัย 2553:101)
คำว่า “ละคร”
มีผู้ให้ความหมายต่างๆ กันดังนี้
ละคร คือ การแสดงเลียนชีวิต โดยมีการร้องรำทำเพลง
ละคร คือ การเล่นจำพวกหนึ่ง
ปกติตัวแสดงแต่งเครื่องมีบอกบทลำนำต่างๆ มีท่ารำและทำเพลง นิยมแสดงเป็นเรื่องราว
ละคร คือ
ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องแล้วจัดเสนอในรูปของการแสดง
โดยนักแสดงเป็นตัวสื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม
ละคร คือ
มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่างๆ มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจ
สนุกสนานเพลิดเพลินหรืออเร้าความรู้สึกของผู้ดู ขณะเดียวกันผู้ดูจะได้แนวคิด
คติธรรม และปรัชญาจากการละครนั้น
ละคร คือ วรรณกรรมรูปหนึ่งเพื่อแสดงออกอารมณ์ของมนุษย์
โดยสร้างตัวละครขึ้นสร้างสถานการณ์ขึ้น
เพื่อให้ตัวละครต้องแสดงอารมณ์ออกมาตามสถานการณ์
ก่อให้เกิดเหตุการณ์สอดคล้องสืบเนื่องเป็นเรื่องใหญ่
หากเรื่องเล็กที่ตัดออกเป็นตอนๆ นั้นต่อเนื่องกันได้โดยสนิท เป็นที่พอใจคนดูก็นับว่าละครเรื่องนั้นเป็นละครที่ดี
สรุปได้ว่า
ละคร คือ รูปแบบการแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว ให้ทั้งความบันเทิงคติสอนใจ
ความรอบรู้ในเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
สำหรับรูปคำศัพท์คำว่า
“ละคร” คำนี้มีวิธีเขียนรูปศัพท์อยู่ 3 คำ คือ ละคร ละคร ละคอน ซึ่งแต่ละคำมีข้อสันนิษฐานถึงที่มาแตกต่างกันไม่ชัดเจนนัก
พอสรุปได้ดังนี้
คำว่า “ลคร”
คำนี้เป็นคำเก่าที่ไม่มีหลักฐานทราบแน่ชัดว่ามาจากที่ใด
เพียงแต่พบอยู่ในตำราบางเล่ม
คำว่า “ละคร”
คำนี้เป็นคำที่ค้นหาหลักฐานที่ชัดเจนไม่ได้เช่นกันว่ามีมาอย่างไรเป็นเพยงพบเห็นหรือใช้กันมากเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีข้อยืนยันว่าไม่ควรใช้คำนี้
จากหลักฐานครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงเสด็จประพาสชวาทรงทอดพระเนตรการแสดงของชวา ซึ่งเรียกว่า “ละงันดริโย”
พระองค์จึงทรงพระราชปรารภ คำนี้จะมาแต่มูลชื่อประเภทละคอนนั่นเอง
เรามาหลงให้สะกดตัว ร. ที่จริงควรสะกดตัว น.
คำว่า “ละคอน”
คำนี้มีข้อสันนิษฐานอยู่หลายประการ เช่น การค้นพบ หนังสือภาษาเขมร
เขียนรูปภาพละคอนหลวงกรุงกัมพูชาว่า “ละโขนพระกรุณา” ซึ่งคำว่า “ละโขน”
สะกดด้วยตัว น. จึงน่าจะมาเป็นคำว่า “ละคอน” โดยใช้ตัว น. สะกดเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าละครน่าจะมีรูปศัพท์สืบเนื่องมาจากคำในภาษาชวา มลายู
ที่มีความสัมพันธ์การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกันกับประเทศไทย
โดยเข้ามาทางภาคใต้ทำให้ได้รับอิทธิพลในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของภาษา เป็นต้น
สรุปรวมความแล้วคำว่า
“ละคร” ทั้ง 3 ตัว ยังเป็นปัญหาโต้เถียงกันอยู่
จนกระทั่งเมื่อกรมศิลปากรได้ทำหนังสือไปยังคณะกรรมการชำระปทานุกรมเพื่อให้พิจารณาคำเหล่านี้ปรากฏว่าทางคณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณายืนยันให้ใช้คำว่า
“ละคร” ที่เขียนกันมานานเป็นเอกฉันท์ในการนำไปใช้ ซึ่งในวงการศึกษาจึงควรใช้คำว่า
“ละคร” ตามหลักพจนานุกรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (นาฏศิลป์ไทย ห้องสมุดคณะฯ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น